ความปลอดภัยในงานซ่อมบำรุง


ความเป็นระเบียบและการซ่อมบำรุงช่วยให้ปลอดภัยได้อย่างไร

เคย สังเกตบ้างไหมว่า สถานประกอบกิจการที่มีประวัติการประสบอันตรายขึ้นบ่อยครั้ง ที่เป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น ตะปูดำ ตกบันได ลื่นหกล้ม ไอน้ำร้อนลวก ตลอดจนอุบัติเหตุรายใหญ่ เช่น เครื่องจักรตัดอวัยวะ วัสดุตกหล่นถูกศรีษะหรือเกิดโรคจากการทำงาน เช่น โรคปอด โรคผิวหนัง เป็นต้น มักเป็นสถานประกอบกิจการที่ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการจัดเก็บไม่ดีและขาดการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์และ อาคาร สถานที่ต่างๆ ให้มีสภาพที่ปลอดภัย

ความเป็นระเบียบและการซ่อมบำรุงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างไร

อาจกล่าว ได้ว่า ความเป็นระเบียบและการซ่อมบำรุงที่ดีเป็นพื้นฐานของความปลอดภัยในโรงงาน โรงงานที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด อุปกรณ์เครื่องมืออยู่ในที่ๆ ควรอยู่ ดังคติที่ว่า หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูงามตา ย่อม ทำให้เกิดสุขตาสบายใจแก่ผู้ทำงานในสถานนั้น และทำให้ คนงานมีสุขภาพอนามัยที่ดีด้วย การซ่อมบำรุงและรักษาความเป็นระเบียบเป็นสิ่งคู่กัน เนื่องจากหากขาดการซ่อมบำรุงก็ไม่สามารถสร้างความเป็น ระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น พื้นที่ทำงานจะมีน้ำขัง หากพื้นที่นั้นชำรุดเป็นแอ่ง และหลังคารั่ว ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถรักษาพื้นที่นั้นให้สะอาดตลอดเวลา ได้ในทางตรงกันข้าม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยจะช่วยลดงานซ่อมบำรุงได้เช่นกัน

อันตรายที่เกิดจากความไม่มีระเบียบมีอะไรบ้าง

สถานที่ทำงานไม่มีระเบียบ เนื่องจากการจัดเก็บไม่ดีและขาดการทำความสะอาดย่อมเป็นสาเหตุของอันตรายและโรคจากการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น

อันตรายที่เกิดจากการซ่อมบำรุงมีอะไรบ้าง

  • การ ลื่น สะดุด หกล้ม เนื่องจากพื้นลื่นหรือเปียก หรือมีวัสดุบนทางเดินในกรณีการลื่นหกล้มไปถูกเครื่องจักรที่กำลังทำงานจะทำ ให้ มีอันตรายเพิ่มขึ้น
  • การถูกเศษวัสดุบนโต๊ะทำงานหรือบนพื้นตำ โดยเฉพาะในงานก่อสร้างซึ่งจัดระเบียบได้ยากมัก
  • อุบัติเหตุที่เกิดจากตำปูที่ฝั่งอยู่ในไม้ตำ
  • อุบัติเหตุ ที่เกิดจากการขนส่งในโรงงาน หากไม่มีการตีเส้นแบ่งพื้นที่สำหรับให้รถยกวิ่งหรือ มีกองวัสดุบังทางเลี้ยว มักเป็นสาเหตุของ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
  • อันตรายจากอัคคีภัย ที่เกิดจากการขาดกำจัดเศษวัสดุไวไฟออกจากพื้นที่ทำงานทุกวัน
  • โรค ที่เกิดจากฝุ่นพิษต่างๆ เช่น โรคปอดฝุ่นทราย โรคปอดใยหิน เกิดเนื่องจากไม่ทำความสะอาดสถานที่ทำงานทุกวันหรือทำความสะอาด ไม่ทั่วถึง ทำให้มีฝุ่นสะสมตามซอกมุมต่างๆ ที่พื้น ผนัง ชั้นวางของ ซึ่งหากมีการสั่นสะเทือนหรือลมพัด ทำให้ฝุ่นฟุ้งขึ้นมาอีก
  • กระจกหน้าต่าง หรือกระจกฝ้าบนหลังคาที่ขาดการดูแลรักษาความสะอาด ทำให้แสงสว่างไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ หลายอย่างเกิดจากการซ่อมบำรุงไม่ดีพอ คนงานปฏิบัติงานโดยขาดความสังเกตหรือความเอาใจใส่ต่อสภาพที่ชำรุดของเครื่อง จักรและ เครื่องมือต่างๆ เช่น

จะดำเนินการอย่างไรให้ปลอดภัย

  • อุบัติเหตุ ที่เกิดจากเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา หรือการบาดเจ็บที่มือ เท้า หรืออวัยวะอื่นๆ เนื่องจากการทำงานกับเครื่องจักรที่ไม่มีเซฟการ์ด หรือเซฟการ์ดชำรุด
  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีสายไฟหรือปลั๊กชำรุด หรือไม่มีสายดิน ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร
  • การทำงานกับหม้อไอน้ำที่ขาดการซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการระเบิดก่อให้เกิดความเสีบหายอย่างใหญ่หลวง
  • ไอน้ำร้อนลวกเนื่องจากท่อไอน้ำแตกหรือท่อไอน้ำที่ไม่มีฉนวนหุ้ม อาจทำให้ผู้จับต้องโดยบังเอิญ ผิวหนังไหม้ได้
  • อันตรายจากอัคคีภัย เนื่องจากประตูหนีไฟใช้การไม่ได้หรือบันไดหนีไฟชำรุด
  • ระบบดูดอากาศชำรุด ทำให้มีฟูม ฝุ่นละอองของสารพิษรั่ว เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของคนงาน เป็นต้น

ความ สำเร็จของการดำเนินงานจัดระเบียบในโรงงานและการซ่อมบำรุงที่ดี เป็นผลมาจากคนงานทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกันโดยเฉพาะในพื้นที่ ทำงานของแต่ละคน จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารของโรงงานที่จะต้องสร้างทัศนะคติให้คนงานรู้จัก เก็บของให้เป็นที่เป็นทาง และการตรวจสอบ อุปกรณ์และดูแลพื้นที่ทำงานให้สะอาดตลอดเวลา ซึ่งทำได้โดย

  • จัด สถานที่และอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนงานในการช่วยกันจัดระเบียบและ รักษาความสะอาดในโรงงาน เช่น จัดพื้นเก็บวัสดุและ งานที่สำเร็จแล้ว ถังขยะ แผงวางเครื่องมือและอุปกรณ์ ตู้เก็บของใช้ส่วนบุคคล เป็นต้น
  • ให้ มีพนักงานที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดโรงงานตลอดเวลาการทำงาน โรงงานส่วนใหญ่มักใช้เวลาใกล้เลิกงานให้คนงานทำความ สะอาดพื้นที่การทำงาน ซึ่งมักไม่ได้ผลเต็มที่ เนื่องจากคนงานส่วนใหญ่ต้องการเลิกตรงเวลา
  • จัดให้มีการรณรงค์เรื่องการจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในโรงงาน เช่น มีการประกวดและให้รางวัลพื้นที่ที่มีความสะอาดและมีระเบียบ
  • จัดอบรมคนงานให้เกิดความรับผิดชอบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยจากการซ่อมบำรุงที่ดี โดยให้
    • คน งานรู้จักสังเกตและรายงาน เมื่อเครื่องจักร อุปกรณ์มีการชำรุด เพื่อให้มีการซ่อมแซมหรือให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพื้นที่ที่มีปัญหาการ ประสบอันตรายบ่อย ๆ
    • มี การทำความสะอาดพื้นที่ทำงานตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เศษวัสดุกิดขวางการทำงานหรือเกิดการฟุ้งกระจายขึ้นอีก และหากมีสารหกที่พื้นต้องทำความสะอาดทันที
    • รู้จักวิธีการทำความสะอาดพื้นที่ทำงานอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ทำให้พื้นที่ทำงานสะอาด และไม่เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

ข้อควรระมัดระวัง

  • ห้ามทำความสะอาดเครื่องจักรที่กำลังทำงาน
  • ผู้ทำความสะอาดต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ผ้ากันเปื้อน ถุงมือยาง รองเท้ายาง เป็นต้น
  • ในกรณีที่ทำความสะอาดฝุ่นของสารพิษจะต้องสวมใส่หน้ากากกันสารพิษด้วย
  • ให้ ปิดสวิทซ์เครื่องจักร และเครื่องมือไฟฟ้าก่อนการซ่อมทุกครั้งโดยเฉพาะการซ่อมแซมส่วนของเครื่อง จักรที่อยู่ห่างจากเครื่องกำเนิด พลังงานมาก เช่น ซ่อมสายพาน ผู้ซ่อมจะต้องเก็บกุญแจล็อคสวิทซ์นั้นไว้กับตนเอง
  • ติดป้ายที่เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสถานที่ที่มีการซ่อม เพื่อไม่ให้คนงานใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือ เข้าไปในสถานที่นั้น

ข้อมูลจาก : สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ผลวิจัยชี้พลาสติก มีส่วนก่อโรคหัวใจและเบาหวานในคน

นักวิจัยพบผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรค หัวใจ มีสาร BPA ในปัสสาวะสูงกว่าคนทั่วไป เชื่อสารอันตรายในพลาสติก มีส่วนทำให้เกิดโรคและความผิดปรกติในร่างกาย แต่ยังต้องศึกษาต่อเพื่อให้เกิดความแน่ชัด พร้อมทั้งแนะนำให้ลดปริมาณการใช้พลาสติกชนิดที่มีส่วนผสมของสารอันตราย

เดวิด เมลเซอร์ (David Melzer) และคณะนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพนินซูลา (Peninsula Medical School) เมืองเอ็กซ์เตอร์ (Exeter) สหราชอาณาจักร ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของไบฟีนอล เอ หรือ บีพีเอ (Biphenol A : BPA) สารอันตรายจากพลาสติก ที่สะสมในร่างกาย กับสถานะของสุขภาพในประชากรกลุ่มตัวอย่าง พบผู้ป่วยโรคหัวใจและเบาหวานส่วนใหญ่ มีสารดังกล่าวเจือปนอยู่ในปัสสาวะมากกว่าคนทั่วไป ไซน์เดลีรายงานว่าผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารเจเอเอ็มเอ (JAMA)

ทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาว่า ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-74 ปี มีสาร BPA เจือปนอยู่ในปัสสาวะที่ระดับความเข้มข้นเท่าใด และพวกเขามีสุขภาพเป็นอย่างไร โดยใช้ข้อมูลจากเนชันแนล เฮลธ์ แอนด์ นูทริชันแนล เอ็กแซมิเนชัน เซอร์เวย์ (National Health and Nutritional Examination Survey : NHANES) ในช่วงปี 2546-2547 รวมทั้งสิ้น 1,455 คน

ผลปรากฏว่า ในกลุ่มคนที่มีรายงานว่าป่วยเป็นโรคหัวใจและโรคเบาหวาน จะมีค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นของ BPA สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีรายงานว่าป่วยด้วยโรคดังกล่าว โดยพบว่าค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของความเข้มข้น BPA ที่เพิ่มขึ้นราว 39% ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและอาการทางด้านโรคหัวใจ

เมื่อแบ่งค่าความเข้มข้นของ BPA เป็น 4 ส่วน พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 4 ที่มีความเข้มข้นของ BPA ในปัสสาวะสูงที่สุด มีระดับความเข้มข้นของ BPA ในปัสสาวะสูงกว่าประชากรอีก 1 ใน 4 ที่มี BPA ต่ำสุด ราว 3 เท่า ในกรณีของโรคหัวใจ และ 2.4 เท่า ในกรณีของโรคเบาหวาน และนอกจากนี้ยังพบว่า ค่าความเข้มข้นของ BPA สูง ยังเกี่ยวพันกับความผิดปรกติของเอนไซม์ในตับ 3 ชนิด อีกด้วย ส่วนโรคอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ยังไม่พบว่าสัมพันธ์กัน

"จากข้อมูลที่เป็นตัวแทนของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐ เราพบว่า ความเข้มข้นของ BPA สูงในกระเพาะปัสสาวะ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระจายของผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และความผิดปรกติของเอนไซม์ในตับ ซึ่งการค้นพบนี้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมที่บ่งชี้ถึงผลร้ายของปริมาณ BPA ในระดับต่ำที่ส่งผลต่อสัตว์" ข้อสรุปจากนักวิจัย

"การที่ BPA ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาจเกี่ยวข้องกับปริมาณความเข้มข้นของ BPA ที่เพิ่มมากขึ้น และไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกาย ซึ่งควรจะต้องมีการศึกษาต่อด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นการยืนยัน ข้อมูลนี้อีกทีหนึ่ง" เดวิด เมลเซอร์ แจง

ทั้งนี้ BPA เป็นสารเคมีที่ใช้ทั่วไปในการผลิตภาชนะบรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมากที่สุดในโลก และยังพบว่ามีปนเปื้อนอยู่ในฝุ่นละอองทั่วไป เมื่อสูดหายใจเข้าไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยตรวจพบว่าประชากรในสหรัฐ มากกว่า 90% มีสาร BPA ปนเปื้อนในร่างกาย ซึ่งสาร BPA ในปริมาณต่ำก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ ทว่าที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีการศึกษาและเก็บข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับปริมาณของ BPA ในร่างกายและผลต่อสุขภาพในประชากรกลุ่มใหญ่

อย่างไรก็ดี เฟรเดอริค เอส วอม เซล (Frederick S. vom Saal) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมิสซูรี (University of Missouri) เมืองโคลัมเลีย มลรัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา และจอห์น ปีเตอร์สัน ไมเออร์ส (John Peterson Myers) จากสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Health Science) มลรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แสดงความเห็นต่อผลงานวิจัยเรื่องดังกล่าวว่า

นับตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จาก BPA แพร่หลายไปทั่วโลก จนถึงเดี๋ยวนี้มีปริมาณราว 7 พันล้านปอนด์ต่อปี การกำจัด BPA ให้ลดลงโดยตรงจากการที่เรานำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม น่าจะง่ายกว่าการหาทางแก้ไขในขณะที่ BPA จำนวนมหาศาลได้ปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อมแล้วทั่วโลก เนื่องจากการนำไปฝังกลบหรือทิ้งลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ และก็เป็นข่าวดีที่รัฐบาลในบางประเทศเริ่มมีนโยบายต่อต้านการใช้พลาสติกที่ มีส่วนผสมของ BPA แล้ว

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 18 กันยายน 2551

ACCIDENT...

อุบัติเหตุ หรือที่ภาษาปะกิตเรียกว่า Accident นั้น สาเหตุหลักๆ มาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ การไม่เคารพกฎจราจร การคาดเดาหรือคาดการณ์ผิดพลาด และยังมีปัจจัย (Factor) อื่นๆ อีกหลายประการที่ช่วยเสริมหรือมีส่วนทำให้เิกิดเช่นสภาพอากาศ สภาพความหนาแน่นของการจราจร เป็นต้น สำหรับตัวอย่างที่นำมาเสนอกันนี้ ก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดจากการฝ่าฝืนสัญญาณจราจร